วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2562

การฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ (Renaissance)



     การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) เกิดในช่วงเวลาระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 14-16 คือ ปลายสมัยกลางถึงต้นสมัยใหม่ ถือว่าเป็นจุดเชื่อมต่อ (Transitional Period) ของประวัติศาสตร์สองยุค     การฟื้นฟูศิลปวิทยาการเริ่มขึ้นที่นครรัฐต่างๆ บนคาบสมุทรอิตาลี ซึ่งมีความมั่งคั่งและร่ำรวยจากการค้าขาย ต่อมาจึงแพร่หลายไปสู่บริเวณอื่นๆ ในยุโรป
     คำว่า Renaissance แปลว่า เกิดใหม่ (Rebirth) หมายถึง การนำเอาศิลปวิทยาการของกรีกและโรมันมาศึกษาใหม่ ทำให้ศิลปวิทยาการกรีก-โรมันเจริญรุ่งเรืองอีกครั้งหนึ่ง เป็นสมัยที่ชาวยุโรปเกิดความกระตือรือร้นสนใจอารยธรรมกรีก-โรมัน จึงถือว่าเป็นยุคเจริญรุ่งเรืองที่ชาวยุโรปมีสิทธิและเสรีภาพ ช่วงเวลานี้จึงถือว่าเป็นขบวนการขั้นสุดท้ายที่จะปลดปล่อยยุโรปจากสังคมในยุคกลางที่เคยถูกจ่ากัดโดยกฎเกณฑ์และข้อบังคับของคริสต์ศาสนา




                             สาเหตุและความเป็นมาของการฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
                                                    1. การขยายตัวทางการค้า ทำให้พ่อค้าชาวยุโรปและบรรดาเจ้าผู้ครองนครในนครรัฐอิตาลีมีความมั่งคั่งขึ้น เช่น เมืองฟลอเรนซ์ เมืองมิลาน หันมาสนใจศิลปะและวิทยาการความเจริญในด้านต่างๆ ประกอบกับที่ตั้งของนครรัฐในอิตาลีเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิโรมันตะวันตกมาก่อน ทำให้นักปราชญ์และศิลปินต่างๆ ในอิตาลีจึงให้ความสนใจศิลปะและวิทยาการของโรมัน

2. ความเจริญทางเศรษฐกิจและการเกิดรัฐชาติในปลายยุคกลาง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน ทั้งด้านองค์กรทางการเมือง องค์กรทางเศรษฐกิจซึ่งต้องใช้ความรู้ความสามารถมาบริหารจัดการ แต่การศึกษาแบบเดิมเน้นปรัชญาทางศาสนาและสังคมในระบบฟิวดัล จึงไม่สามารถตอบสนองความต้องการของสังคมได้ ดังนั้นนักปราชญ์สาขาต่างๆ จึงหันมาศึกษาอารยธรรมกรีกและโรมัน เช่น นักกฎหมายศึกษากฎหมายโรมันโบราณเพื่อน่ามาใช้พิพากษาคดีทางการค้า นักรัฐศาสตร์ศึกษาตำราทางการเมือง เพื่อนำมาใช้ในการทูตและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมทั้งนักประวัติศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ ก็ค้นหาความจริงและสนใจศึกษาอารยธรรมกรีก-โรมันเช่นกัน

3. ทัศนคติของชาวยุโรปในช่วงปลายสมัยกลางต่อการดำเนินชีวิตเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จากการที่เคร่งครัดต่อคำสั่งสอนทางคริสต์ศาสนา มุ่งแสวงหาความสุขในโลกหน้า ใฝ่ใจที่จะหาทางพ้นจากบาป และปฏิบัติทุกอย่างเพื่อเสริมสร้างกุศลให้แก่ตนเอง ได้เปลี่ยนมาเป็นการมองโลกในแง่ดี และเบื่อหน่ายกับระเบียบสังคมที่เข้มงวดกวดขันของคริสตจักร รวมทั้งมีอคติต่อการกระทำมิชอบของพวกพระ จึงหันไปสนใจผลงานสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ของมนุษยชาติ และเห็นว่ามนุษย์สามารถพัฒนาชีวิตตนเองให้ดีและมีคุณค่าขึ้นได้ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวเป็นที่มาของแนวคิดแบบมนุษยนิยม (Humanism) ที่สนใจโลกปัจจุบันมากกว่าหนทางมุ่งหน้าไปสู่สวรรค์ดังเช่นเคย 

4. การล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์หรือจักรวรรดิโรมันตะวันออก เพราะถูกพวกมุสลิมเติร์กยึดครองใน ค.ศ. 1453 ทำให้วิทยาการแขนงต่างๆ ที่จักรวรรดิไบแซนไทน์สืบทอดไว้ หลั่งไหลคืนสู่ยุโรปตะวันตก


ความเจริญในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
สถาปัตยกรรม

     ศิลปินได้นำเอาแบบอย่างศิลปะชั้นสูงในสมัยกรีกและโรมัน มาสร้างสรรค์ได้อย่างอิสระเต็มที่ งานสถาปัตยกรรมมีการก่อสร้างแบบกรีกและโรมันเป็นจำนวนมาก ลักษณะอาคารมีประตูหน้าต่างเพิ่มมากขึ้น ประดับตกแต่งภายในด้วยภาพจิตรกรรมและประติมากรรมอย่างหรูหรา สง่างาม งานสถาปัตยกรรมที่ยิ่งใหญ่ในสมัยเรอเนซองส์ ได้แก่ มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ (St. Peter) ในกรุงโรม เป็นศูนย์กลางของคริสต์ศาสนาโรมันคาทอลิก วิหารนี้มีศิลปินผู้ออกแบบควบคุมงานก่อสร้างและลงมือตกแต่งด้วยตนเอง ต่อเนื่องกันหลายคน เช่น โดนาโต บรามันโต (Donato Bramante ค.ศ. 1440 – 1514) ราฟาเอล (Raphel ค.ศ. 1483 – 1520) ไมเคิล แองเจลโล (Michel Angelo ค.ศ. 1475 – 1564) และ โจวันนิ เบอร์นินี (Giovanni Bernini ค.ศ. 1598 – 1680)



จิตรกรรมและประติมากรรม
     งานจิตรกรรมและประติมากรรมในสมัยเรอเนซองส์ ศิลปินสร้างสรรค์ในรูปความงามตามธรรมชาติ และความงามที่เป็นศิลปะแบบคลาสสิกที่เจริญสูงสุด ซึ่งพัฒนาแบบใหม่จากศิลปะกรีกและโรมัน ความสำคัญของศิลปะสมัยเรอเนซองส์ มีความสำคัญต่อการสร้างสรรค์ศิลปะเกือบทุกสาขา โดยเฉพาะเทคนิคการเขียนภาพ การใช้องค์ประกอบทางศิลปะ (Composition) หลักกายวิภาค (Anatomy) การเขียนภาพทัศนียวิทยา (Perspective Drawing) การแสดงออกทางศิลปะมีความสำคัญในการพัฒนาชีวิต สังคม ศาสนาและวัฒนธรรม จัดองค์ประกอบภาพให้มีความงาม มีความเป็นมิติ มีความสัมพันธ์กับการมองเห็นใช้เทคนิคการเน้นแสงเงาให้เกิดดุลยภาพ มีระยะตื้นลึก ตัดกันและความกลมกลืน เน้นรายละเอียดได้อย่างสวยงาม





ศิลปินที่สำคัญในสมัยเรอเนซองส์ ได้แก่
เลโอนาร์โด ดาวินชี (Leonardo da Vinci)
ผู้เป็นอัจริยะทั้งในด้านวิทยาศาสตร์ แพทย์ กวี ดนตรี จิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม ผลงานที่มีชื่อเสียงของดาวินชี ได้แก่ ภาพอาหารมื้อสุดท้ายของพระเยซู (The last Supper) ภาพพระแม่บนก้อนหิน (The Virgin on the Rock) ภาพพระแม่กับเซนต์แอน (The Virgin and St. Anne) และภาพหญิงสาวผู้มีรอยยิ้มอันลึกลับ (mystic smile) ที่โด่งดังไปทั่วโลก คือ ภาพโมนาลิซา (Mona Lisa)



ไมเคิล แองเจลโล (Michel Angelo) เป็นศิลปินผู้มีความสามารถ และรอบรู้ในวิทยาการแทบทุกแขนง โดยเฉพาะรอบรู้ในด้านจิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม เป็นสถาปนิกผู้ร่วมออกแบบและควบคุมการก่อสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ งานประติมากรรมสลักหินอ่อนที่มีชื่อเสียงและเป็นผลงานชิ้นเอก ได้แก่ รูปโมเสส (Moses) ผู้รับบัญญัติสิบประการจากพระเจ้า รูปเดวิด (David) หนุ่มผู้มีเรือนร่างที่งดงาม รูปพิเอตตา (Pietta) แม่พระอุ้มศพพระเยซูอยู่บนตัก ภาพเขียนของไมเคิล แองเจลโล ชิ้นสำคัญที่สุด เป็นภาพบนเพดานและฝาผนังของโบสถ์ซิสติน (Sistine) ในพระราชวังวาติกัน ประเทศอิตาลีในปัจจุบัน


ราฟาเอล (Raphael) เป็นผู้หนึ่งที่ร่วมออกแบบ ควบคุมการก่อสร้าง และตกแต่งมหาวิหาร 
เซนต์ปีเตอร์ มีผลงานจิตรกรรมที่สำคัญเป็นจำนวนมากที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป ได้แก่ ภาพแม่พระอุ้มพระเยซู (Sistine Madonna) ภาพงานรื่นเริงของทวยเทพ (The Triumph of Galatea)


ศิลปะสมัยเรอเนซองส์ แพร่หลายออกไปจากประเทศอิตาลีสู่ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปตะวันตกอย่างรวดเร็ว และมีอิทธิพลต่อศิลปะในประเทศนั้น ๆ อย่างมากมาย ทำให้เกิดสกุลศิลปะและศิลปินที่สำคัญในท้องถิ่นนั้น ๆ เป็นจำนวนมาก ผลงานอันยิ่งใหญ่เหล่านี้ เรากล่าวได้ว่ามนุษยชาติเป็นหนี้บุญคุณบรรพชนแห่งสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการอยู่จนปัจจุบันนี้
   ด้านวรรณกรรม http://wl.mc.ac.th/?p=102
- เปทราก ชาวอิตาลี เป็นผู้บุกเบิกแนวคิดมนุษยนิยมจนได้รับยกย่องให้เป็นบิดาแห่งมนุษยนิยม 

มีผลงานวรรณกรรมที่เรียกว่า งานคลาสสิค ที่สะท้อนจิตวิญญาณของมนุษย์
- มาคิอาเวลลี แต่งหนังสือเรื่อง The Prince หรือเจ้าชาย ที่สะท้อนแนวคิดในการบริหารและการปกครอง

- เซอร์ ทอมัส มอร์ ชาวอังกฤษ แต่งหนังสือรัฐในอุดมคติชื่อ ยูโทเปีย เป็นสังคมอุดมคติที่ไม่มีความเหลื่อมล้ำ เป็นจิตนาการถึงสังคมนิยมทุกสิ่งเป็นของส่วนรวม มีเสรีภาพ เหล็กมีค่ากว่าทองคำเพราะมีประโยชน์มากกว่า สามารถใช้ทำสงครามและเพื่อป้องกันตนเอง
- โยฮันน์ กูเดนเบิร์ก ได้ประดิษฐ์แท่นพิมพ์และระบบการพิมพ์แบบเรียงตัวอักษร เช่น จัดพิมพ์

คัมภีร์ไบเบิลเผยแพร่
- วิลเลียม เชกสเปียร์ เขียนบทละครเรื่อง โรมีโอและจูเลียต ที่สะท้อนถึงความหลากหลายของปัจเจกชน อารมณ์และความรู้สึก ซึ่งได้รับความนิยมนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีเรื่อง เวนิส วานิส คิงเลีย แมกเบทและฝันกลางฤดูฝน
- ดังเต ( Dante Alighieri ค.ศ. 1265 - 1321) เขียน Devine Comedy เป็นภาษาลาตินเป็น
เรื่องความรักที่ไม่สมหวังและกล่าวถึงบุคคลที่ไม่เลื่อมใสในศาสนาและตกนรกเพราะบาปของตน ในประเทศอังกฤษสมัยพระราชินีอลิซาเบธที่ 1 เป็นยุคทองของวรรณคดีสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

   

นักมนุษยนิยมที่สาคัญของอังกฤษ และยุโรปเหนือ มีดังนี้
เซอร์ ทอ
มัส ( Sir Thomas ค.ศ. 1478 - 1535) มีผลงาน “ยูโทเปีย” เป็นสังคมอุดมคติที่ไม่มีความเหลื่อมล้ำ เป็นจิตนาการถึงสังคมนิยมทุกสิ่งเป็นของส่วนรวม มีเสรีภาพ เหล็กมีค่ากว่าทองคำเพราะมีประโยชน์มากกว่าสามารถใช้ทำสงครามและเพื่อป้องกันตนเอง



วิลเลี่ยม เชคสเปียร์ ( William Shakespeare ค.ศ. 1564 - 1616) แต่งวรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์ เช่น จูเลียส ซีซาร์ เรื่องโศกนาฎกรรมเช่น โรมิโอ-จูเลียต สุขนาฏกรรม เช่น เวนิสวานิช ตามใจท่าน


เซอร์ฟราซิส เบคอน (Francis Bacon ค.ศ. 1561-1626) ได้รับยกย่องว่าเป็นผู้วางรากฐานการทดลองวิทยาศาสตร์ เนื่องจากเชื่อว่าการทดลองเป็นสิ่งจำเป็น ผู้สังเกตต้องปล่อยให้ธรรมชาติเขียนบันทึกตนเอง มนุษย์เป็นเพียงผู้สังเกตอยู่วงนอกเท่านั้น


อีรัสมัส (Erasmus ค.ศ. 1466 3 1536) ได้รับสมญญาว่าเป็น “เจ้าแห่งมนุษยนิยม” เขาเรียกร้องให้ช่วยปรับปรุงสังคมโดยเฉพาะปฏิรูปศาสhttps://forms.gle/1DrDjE1wkBp4vLv49นา



     การฟื้นฟูศิลปวิทยาขยายตัวอย่างรวดเร็วเนื่องจากความเจริญของการพิมพ์ที่คิดค้นโดย โจฮันน์
กูเตนเบอร์ก ชาวเยอรมันในปี ค.ศ. 1447 โดยพิมพ์เอกสารถวายพระสันตะปาปาและพิมพ์พระคัมภีร์เล่มแรกขึ้น (ถือว่าเป็นหนังสือเล่มแรกที่พิมพ์ขึ้นโดยเครื่องประดิษฐ์นี้) การรับรู้วิทยาการต่างๆก้าวไปอย่างรวดเร็ว ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 กล่าวได้ว่าเป็นสมัยแห่งการสำรวจ ค้นพบดินแดนใหม่ ทำให้การค้าจากเมดิเตอร์เรเนียน ย้ายจากอิตาลีไปอยู่ฝรั่งเศส อังกฤษ สเปน โปตุเกส และเยอรมัน



สามารถทำแบบทดสอบได้ โดยคลิกที่ลิ้งด้านล่างนี้

https://forms.gle/1DrDjE1wkBp4vLv49

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น