วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2562

การปฏิวัติเกษตรกรรม (The Argicultural Revolution)


   การปฏิวัติเกษตรกรรม หรือการปฏิวัติเขียว เกิดจากการน่าเอาความรู้ด้านและวิทยาการมาใช้ โดยอังกฤษเป็นประเทศแรกที่ประสบความสำเร็จในการปฏิวัติเกษตรกรรม ตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติล้อมเขตที่ดิน (Enclosure Acts) มาใช้ในการปรับปรุงผลผลิตทางการเกษตร และมีระบบนาปิด
(ล้อมรั้วที่ดิน) ท่าให้เจ้าของที่ดินรายใหญ่สามารถรวบรวมที่ดินของตนให้เป็นผืนใหญ่ผืนเดียวกัน มีการล้อมรั้วให้เป็นสัดส่วน เพื่อประโยชน์ในการบ่ารุงรักษาดินให้อุดมสมบูรณ์ การคัดเลือกพันธุ์พืชที่เหมาะสม รวมถึงการป้องกันการเสียหายของพืชจากการท่าลายของคน และสัตว์เลี้ยงอื่นๆ นอกจากนี้ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ยังทำให้สามารถน่าเอาวิธีการเกษตรกรรมแบบใหม่ๆ เช่น เครื่องหว่านเมล็ดพืช และเครื่องก่าจัดวัชพืช มีใบมีดติดกับล้อคันไถมาช่วยในการปรับปรุงวิธีการท่านาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น มีการคิดเครื่องมือช่วยในการเก็บเกี่ยว ใช้คนงานน้อย และการเลี้ยงสัตว์จากเดิมปล่อยให้สัตว์หากินรวมกันปรับเปลี่ยนมาเป็นแบบคัดเลือกพันธุ์



สาเหตุที่ทาให้เกิดการปฏิวัติเกษตรกรรมในเกาะบริเตน ได้แก่
1. การเพิ่มจ่านวนประชากรในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 เนื่องจากความก้าวหน้าทางสาธารณสุข เช่น การ
คิดค้นวัคซีนป้องกันฝีดาษของเอดเวิร์ส เจนเนอร์ ที่ท่าให้อัตรการตายของทารกลดลง และการสมรสของหนุ่มสาว
น้อยลง จ่านวนประชากรที่เพิ่มขึ้นนี้ท่าให้ความต้องการด้านอาหาร เครื่องนุ่งห่ม และวัตถุดิบส่าหรับอุตสาหกรรม
ขยายตัวเกิดความจ่าเป็นต้องปรับปรุงวิธีการผลิต การเก็บรักษาผลผลิต รวมไปถึงการขนส่งที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของตลาดที่ขยายตัว

2. ประชาชนสนใจให้ใช้ประโยชน์จากที่ดินเพิ่มขึ้น การที่สินค้าเกษตรมีราคาสูงขึ้นตามการเพิ่มของ อุปสงค์ ท่าให้เกษตรกรและเจ้าของที่ดินมีรายได้สูงขึ้น ในบางประเทศเช่นอังกฤษใช้กรรมสิทธิ์ถือครองที่ดินเป็นเครื่องก่าหนดสิทธิคือมีข้อบัญญัติ ค.ศ. 1731 ว่า “ผู้เป็นเจ้าของที่ดินขนาดใหญ่และมีรายได้จากที่ดิน 600 ปอนด์สเตอร์ลิงขึ้นไป มีสิทธิ์เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร” ซึ่งเป็นเหตุจูงใจให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินเพิ่มขึ้น 

3. ปัญหาการบ่ารุงรักษาความสมบูรณ์ของดิน วิธีดั้งเดิมของเกษตรกร คือ ระบบนา 2 แปลง หรือ ระบบนา 3 แปลง ท่าให้ใช้ประโยชน์ที่ดินได้ไม่เต็มที่ ต้องปล่อยที่ดินว่างเปล่าส่วนหนึ่งทุกปี เพราะความต้องการของผลผลิตที่เพิ่มขึ้นมาก ท่าให้เกิดความจ่าเป็นต้องการที่ดินทุกตารางนิ้วในการผลิต และแก้ปัญหาคุณภาพดินโดยการปลูกพืชหมุนเวียนซึ่งเริ่มที่เนเธอแลนด์ก่อน วิธีการปลูกพืชหมุนเวียนท่าให้ดินสมบูรณ์ขึ้น จนเป็นมาตรฐานการเกษตรในยุคต่อมา 

4. การคิดค้นเครื่องจักรและเทคโนโลยีในการเกษตรแบบใหม่ เช่น เครื่องหว่านข้าว เครื่องขุดหลุมฝัง เมล็ดพืช ระบบปลูกข้าวหมุนเวียนท่าให้เกษตรกรต้องหันมาปรับปรุงการเกษตรจนกลายเป็นกิจกรรมในระบบ ทุนนิยม เช่นเดียวกับอุตสาหกรรม
-เจโทร ทัลล์ (ค.ศ. 1674 - 1741) ปรับปรุงการปลูกพืชแบบยกร่อง คิดเครื่องหว่านเมล็ดพืช

-ชาลส์ เทาน์เซนส์ (ค.ศ. 1674 -1738) คิดวิธีบ่ารุงดินโดยใช้โคลนและหินปูนผสมเป็นปุ๋ย 5. การที่ธนาคารและสถาบันการเงินมีความมั่นคงและส่งเสริมเกษตรกรท่าให้ผู้ประกอบการผลิตในภาค เกษตรกรรมสามารถกู้เงินมาด่าเนินธุรกิจที่ขยายตัว ซึ่งต้องลงทุนมากไม่แพ้อุตสาหกรรม เกษตรกรกลายเป็นนักธุรกิจกลุ่มใหม่ของระบบทุนนิยม 


ผลกระทบของการปฏิวัติเกษตรกรรม
1. ผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นแหล่งรายได้ที่ส่าคัญของประเทศ และท่าให้การค้าระหว่างประเทศขยายตัว พืชบางชนิดส่งเพื่อเป็นสินค้าออก เช่น ต้นฮอพในการหมักเบียร์ ต้นป่านในการทอผ้า ผลผลิตทางธัญพืชของอังกฤษและเวลส์ เพิ่มจาก 14.8 ล้านควอเตอร์ เป็น 16.5 ล้านควอเตอร์ และอังกฤษส่งผลิตภัณฑ์สิ่งทอขนสัตว์ออกนอกเพิ่มจาก 12.5 ล้านปอนด์สเตอร์ลิงต่อปีเป็น 35 ล้านปอนด์สเตอร์ลิงต่อปี การส่งผลผลิตทางการเกษตรจากดินแดนโพ้นทะเลมาแย่งตลาดยุโรป ท่าให้ยุโรปตั้งก่าแพงภาษีและห้ามเรือสินค้าเข้าเทียบท่า เพื่อกีดกันสินค้าเกษตรจากดินแดนอาณานิคม

 2. ประชากรมีสุขภาพดีขึ้นเพราะมีอาหารเพียงพอ และมี
คุณภาพ ระบบการผลิตทางเกษตรกรรมถูกสุขลักษณะและมีการใช้เครื่องทุ่นแรงมากขึ้น เกษตรกรมีอาหาร มีเวลาว่าง และมีรายได้เพิ่มขึ้น เกษตรกรรม เป็นแหล่งอาหาร วัตถุดิบ และแรงงานให้กับกิจการอุตสาหกรรม 

3. การปฏิวัติได้เปลี่ยนโฉมหน้าเทคโนโลยีและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต เช่น การใช้ประโยชน์จากที่ดินอย่างเต็มที่ การปรับปรุงชลประทาน การระบายน้่า การขนส่ง ระบบสินเชื่อของธนาคาร และสถาบันการเงิน เพื่อส่งเสริมกิจการทางการเกษตรเป็นต้น สิ่งที่น่าสนใจคือบุคคลชั้นผู้น่าของดินแดนต่างๆ ล้วนส่งเสริมและสนับสนุนความก้าวหน้าของการเกษตร เช่น สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 2 แห่งบริเตนใหญ่ นายพลเดอลาฟาแยตต์แห่งฝรั่งเศส และประธานาธิบดีจอร์จ วอชิงตัน แห่งสหรัฐอเมริกา ในช่วงปฏิวัติเกษตรกรรมนั้น มีการเปลี่ยนแปลงระบบของเกษตรกรรมไปพร้อมๆ กัน มีการผลิตที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การคัดเลือกพันธุ์พืชและสัตว์ดีขึ้น การเปลี่ยนแปลงระบบการถือครองที่ดิน และการบุกเบิกการเกษตรในที่ดินโพ้นทะเล ผลที่ตามมาก็คือความช่านาญผลิตสินค้าการเกษตรเฉพาะอย่าง เช่น การใช้เครื่องจักรในการเกษตรมากขึ้น การแบ่งงานกันท่าในกิจกรรมเกษตร การลงทุนด้านเครื่องจักร และเทคนิคการเกษตรพิ่มคุณภาพของดิน จึงสามารถสรุปได้ว่าการปฏิวัติเกษตรกรรมคือการเปลี่ยนแปลงและการปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิตทางการเกษตร โดยเปลี่ยนแปลงด้านระบบและเทคนิคการผลิตในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 7 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 การเกษตรมีลักษณะเป็นทุนนิยมมากขึ้น สินค้าเฉพาะอย่างถูกผลิตเพื่อตลาดภายในและภายนอกประเทศ เกษตรกรผู้ถือครองที่ดินขนาดใหญ่ต้องลงทุนด้านเครื่องจักรและจ้างแรงงานเพิ่มขึ้น เกิดการเกษตรเพื่อการค้าขนาดใหญ่ เช่น ในอังกฤษ รัฐเยอรมันแถบตะวันออก บางส่วนของรัสเซีย และแถบลุ่มแม่น้่าโปของอิตาลี ส่วนดินแดนนอกยุโรป ได้แก่ แถบที่ราบใหญ่ของสหรัฐอเมริกาและแคนาดา เขตทุ่งหญ้าแพมเฟอร์ ในอาเจนตินาและออสเตรเลีย ในเขตการเกษตรขนาดเล็กตามลักษณะการถือครองที่ดิน เช่น ฝรั่งเศส รัฐเยอรมันแถบตะวันตก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ เกษตรกรไม่อาจรับเทคนิคใหม่และเครื่องจักรในการเกษตรเพราะกิจการเล็กเกินไป แต่ใช้วิธีเลือกเพาะปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์ที่ให้ผลผลิตราคาสูงต่อหน่วยพื้นที่ขนาดเล็กและผลิตแบบใช้แรงงานต่อหน่วยสูงแต่ลงทุนน้อย เช่น ผลิตภัณฑ์นม ไข่ ผักสด ดอกไม้ และผลไม้


สามารถทำแบบทดสอบได้จากลิ้งนี้
https://forms.gle/1xCJ55sgt6nxg3Bt6

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น