วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2562

การปฏิวัติเกษตรกรรม (The Argicultural Revolution)


   การปฏิวัติเกษตรกรรม หรือการปฏิวัติเขียว เกิดจากการน่าเอาความรู้ด้านและวิทยาการมาใช้ โดยอังกฤษเป็นประเทศแรกที่ประสบความสำเร็จในการปฏิวัติเกษตรกรรม ตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติล้อมเขตที่ดิน (Enclosure Acts) มาใช้ในการปรับปรุงผลผลิตทางการเกษตร และมีระบบนาปิด
(ล้อมรั้วที่ดิน) ท่าให้เจ้าของที่ดินรายใหญ่สามารถรวบรวมที่ดินของตนให้เป็นผืนใหญ่ผืนเดียวกัน มีการล้อมรั้วให้เป็นสัดส่วน เพื่อประโยชน์ในการบ่ารุงรักษาดินให้อุดมสมบูรณ์ การคัดเลือกพันธุ์พืชที่เหมาะสม รวมถึงการป้องกันการเสียหายของพืชจากการท่าลายของคน และสัตว์เลี้ยงอื่นๆ นอกจากนี้ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ยังทำให้สามารถน่าเอาวิธีการเกษตรกรรมแบบใหม่ๆ เช่น เครื่องหว่านเมล็ดพืช และเครื่องก่าจัดวัชพืช มีใบมีดติดกับล้อคันไถมาช่วยในการปรับปรุงวิธีการท่านาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น มีการคิดเครื่องมือช่วยในการเก็บเกี่ยว ใช้คนงานน้อย และการเลี้ยงสัตว์จากเดิมปล่อยให้สัตว์หากินรวมกันปรับเปลี่ยนมาเป็นแบบคัดเลือกพันธุ์



สาเหตุที่ทาให้เกิดการปฏิวัติเกษตรกรรมในเกาะบริเตน ได้แก่
1. การเพิ่มจ่านวนประชากรในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 เนื่องจากความก้าวหน้าทางสาธารณสุข เช่น การ
คิดค้นวัคซีนป้องกันฝีดาษของเอดเวิร์ส เจนเนอร์ ที่ท่าให้อัตรการตายของทารกลดลง และการสมรสของหนุ่มสาว
น้อยลง จ่านวนประชากรที่เพิ่มขึ้นนี้ท่าให้ความต้องการด้านอาหาร เครื่องนุ่งห่ม และวัตถุดิบส่าหรับอุตสาหกรรม
ขยายตัวเกิดความจ่าเป็นต้องปรับปรุงวิธีการผลิต การเก็บรักษาผลผลิต รวมไปถึงการขนส่งที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของตลาดที่ขยายตัว

2. ประชาชนสนใจให้ใช้ประโยชน์จากที่ดินเพิ่มขึ้น การที่สินค้าเกษตรมีราคาสูงขึ้นตามการเพิ่มของ อุปสงค์ ท่าให้เกษตรกรและเจ้าของที่ดินมีรายได้สูงขึ้น ในบางประเทศเช่นอังกฤษใช้กรรมสิทธิ์ถือครองที่ดินเป็นเครื่องก่าหนดสิทธิคือมีข้อบัญญัติ ค.ศ. 1731 ว่า “ผู้เป็นเจ้าของที่ดินขนาดใหญ่และมีรายได้จากที่ดิน 600 ปอนด์สเตอร์ลิงขึ้นไป มีสิทธิ์เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร” ซึ่งเป็นเหตุจูงใจให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินเพิ่มขึ้น 

3. ปัญหาการบ่ารุงรักษาความสมบูรณ์ของดิน วิธีดั้งเดิมของเกษตรกร คือ ระบบนา 2 แปลง หรือ ระบบนา 3 แปลง ท่าให้ใช้ประโยชน์ที่ดินได้ไม่เต็มที่ ต้องปล่อยที่ดินว่างเปล่าส่วนหนึ่งทุกปี เพราะความต้องการของผลผลิตที่เพิ่มขึ้นมาก ท่าให้เกิดความจ่าเป็นต้องการที่ดินทุกตารางนิ้วในการผลิต และแก้ปัญหาคุณภาพดินโดยการปลูกพืชหมุนเวียนซึ่งเริ่มที่เนเธอแลนด์ก่อน วิธีการปลูกพืชหมุนเวียนท่าให้ดินสมบูรณ์ขึ้น จนเป็นมาตรฐานการเกษตรในยุคต่อมา 

4. การคิดค้นเครื่องจักรและเทคโนโลยีในการเกษตรแบบใหม่ เช่น เครื่องหว่านข้าว เครื่องขุดหลุมฝัง เมล็ดพืช ระบบปลูกข้าวหมุนเวียนท่าให้เกษตรกรต้องหันมาปรับปรุงการเกษตรจนกลายเป็นกิจกรรมในระบบ ทุนนิยม เช่นเดียวกับอุตสาหกรรม
-เจโทร ทัลล์ (ค.ศ. 1674 - 1741) ปรับปรุงการปลูกพืชแบบยกร่อง คิดเครื่องหว่านเมล็ดพืช

-ชาลส์ เทาน์เซนส์ (ค.ศ. 1674 -1738) คิดวิธีบ่ารุงดินโดยใช้โคลนและหินปูนผสมเป็นปุ๋ย 5. การที่ธนาคารและสถาบันการเงินมีความมั่นคงและส่งเสริมเกษตรกรท่าให้ผู้ประกอบการผลิตในภาค เกษตรกรรมสามารถกู้เงินมาด่าเนินธุรกิจที่ขยายตัว ซึ่งต้องลงทุนมากไม่แพ้อุตสาหกรรม เกษตรกรกลายเป็นนักธุรกิจกลุ่มใหม่ของระบบทุนนิยม 


ผลกระทบของการปฏิวัติเกษตรกรรม
1. ผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นแหล่งรายได้ที่ส่าคัญของประเทศ และท่าให้การค้าระหว่างประเทศขยายตัว พืชบางชนิดส่งเพื่อเป็นสินค้าออก เช่น ต้นฮอพในการหมักเบียร์ ต้นป่านในการทอผ้า ผลผลิตทางธัญพืชของอังกฤษและเวลส์ เพิ่มจาก 14.8 ล้านควอเตอร์ เป็น 16.5 ล้านควอเตอร์ และอังกฤษส่งผลิตภัณฑ์สิ่งทอขนสัตว์ออกนอกเพิ่มจาก 12.5 ล้านปอนด์สเตอร์ลิงต่อปีเป็น 35 ล้านปอนด์สเตอร์ลิงต่อปี การส่งผลผลิตทางการเกษตรจากดินแดนโพ้นทะเลมาแย่งตลาดยุโรป ท่าให้ยุโรปตั้งก่าแพงภาษีและห้ามเรือสินค้าเข้าเทียบท่า เพื่อกีดกันสินค้าเกษตรจากดินแดนอาณานิคม

 2. ประชากรมีสุขภาพดีขึ้นเพราะมีอาหารเพียงพอ และมี
คุณภาพ ระบบการผลิตทางเกษตรกรรมถูกสุขลักษณะและมีการใช้เครื่องทุ่นแรงมากขึ้น เกษตรกรมีอาหาร มีเวลาว่าง และมีรายได้เพิ่มขึ้น เกษตรกรรม เป็นแหล่งอาหาร วัตถุดิบ และแรงงานให้กับกิจการอุตสาหกรรม 

3. การปฏิวัติได้เปลี่ยนโฉมหน้าเทคโนโลยีและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต เช่น การใช้ประโยชน์จากที่ดินอย่างเต็มที่ การปรับปรุงชลประทาน การระบายน้่า การขนส่ง ระบบสินเชื่อของธนาคาร และสถาบันการเงิน เพื่อส่งเสริมกิจการทางการเกษตรเป็นต้น สิ่งที่น่าสนใจคือบุคคลชั้นผู้น่าของดินแดนต่างๆ ล้วนส่งเสริมและสนับสนุนความก้าวหน้าของการเกษตร เช่น สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 2 แห่งบริเตนใหญ่ นายพลเดอลาฟาแยตต์แห่งฝรั่งเศส และประธานาธิบดีจอร์จ วอชิงตัน แห่งสหรัฐอเมริกา ในช่วงปฏิวัติเกษตรกรรมนั้น มีการเปลี่ยนแปลงระบบของเกษตรกรรมไปพร้อมๆ กัน มีการผลิตที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การคัดเลือกพันธุ์พืชและสัตว์ดีขึ้น การเปลี่ยนแปลงระบบการถือครองที่ดิน และการบุกเบิกการเกษตรในที่ดินโพ้นทะเล ผลที่ตามมาก็คือความช่านาญผลิตสินค้าการเกษตรเฉพาะอย่าง เช่น การใช้เครื่องจักรในการเกษตรมากขึ้น การแบ่งงานกันท่าในกิจกรรมเกษตร การลงทุนด้านเครื่องจักร และเทคนิคการเกษตรพิ่มคุณภาพของดิน จึงสามารถสรุปได้ว่าการปฏิวัติเกษตรกรรมคือการเปลี่ยนแปลงและการปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิตทางการเกษตร โดยเปลี่ยนแปลงด้านระบบและเทคนิคการผลิตในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 7 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 การเกษตรมีลักษณะเป็นทุนนิยมมากขึ้น สินค้าเฉพาะอย่างถูกผลิตเพื่อตลาดภายในและภายนอกประเทศ เกษตรกรผู้ถือครองที่ดินขนาดใหญ่ต้องลงทุนด้านเครื่องจักรและจ้างแรงงานเพิ่มขึ้น เกิดการเกษตรเพื่อการค้าขนาดใหญ่ เช่น ในอังกฤษ รัฐเยอรมันแถบตะวันออก บางส่วนของรัสเซีย และแถบลุ่มแม่น้่าโปของอิตาลี ส่วนดินแดนนอกยุโรป ได้แก่ แถบที่ราบใหญ่ของสหรัฐอเมริกาและแคนาดา เขตทุ่งหญ้าแพมเฟอร์ ในอาเจนตินาและออสเตรเลีย ในเขตการเกษตรขนาดเล็กตามลักษณะการถือครองที่ดิน เช่น ฝรั่งเศส รัฐเยอรมันแถบตะวันตก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ เกษตรกรไม่อาจรับเทคนิคใหม่และเครื่องจักรในการเกษตรเพราะกิจการเล็กเกินไป แต่ใช้วิธีเลือกเพาะปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์ที่ให้ผลผลิตราคาสูงต่อหน่วยพื้นที่ขนาดเล็กและผลิตแบบใช้แรงงานต่อหน่วยสูงแต่ลงทุนน้อย เช่น ผลิตภัณฑ์นม ไข่ ผักสด ดอกไม้ และผลไม้


สามารถทำแบบทดสอบได้จากลิ้งนี้
https://forms.gle/1xCJ55sgt6nxg3Bt6

การปฏิวัติอุตสาหกรรม (The Industrial Revolution)

     การปฏิวัติอุตสาหกรรม หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงใน วิธีการผลิตและระบบการผลิตจากการใช้แรงงานคน แรงงานสัตว์ รวมทั้งพลังงานจากธรรมชาติ เครื่องมือแบบง่ายๆ มาเป็นการใช้เครื่องจักรกลแทน เริ่มจากแบบง่ายๆ จนถึงแบบซับซ้อนที่มีกำลังผลิตสูง จนเกิดเป็นการผลิตในระบบโรงงาน (Factory System) การผลิตภายในครอบครัวก็ค่อยๆ หมดไป และผู้คนจำนวนมากตามชนบทต้องอพยพเข้ามาทำงาน เป็นกรรมกรในโรงงาน 
     การปฏิวัติอุตสาหกรรมเริ่มต้นที่อังกฤษ เพราะอังกฤษมีปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวทางอุตสาหกรรมครบถ้วน คือ มีทุน วัตถุดิบ แรงงาน และตลาดการค้า เป็นผู้นำในการปฏิวัติเกษตรกรรม (Agricultural Revolution) โดยนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาปรับปรุงการเกษตรให้พัฒนาขึ้น โดยในคริสต์ศตวรรษที่ 16 การเกษตรกรรมในอังกฤษได้ผลดีขึ้น ทำให้การค้าขายเจริญรุ่งเรืองขึ้น ประเทศมีความมั่งคั่งขึ้นใน ค.ศ. 1694 รัฐบาลจัดตั้งธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ (Bank of England) เพื่อเป็นแหล่งระดมทุนของรัฐ 
     
    ทรัพยากรมนุษย์ของอังกฤษก็มีความพร้อมสนับสนุนการปฏิวัติอุตสาหกรรม เพราะชาวอังกฤษไม่เคร่งครัดต่อการแบ่งแยกชนชั้น เช่น สังคมอื่นๆ ในยุโรป ทั้งยังให้การยอมรับชนทุกชั้นที่สามารถสร้างฐานะเป็นปึกแผ่น ดังนั้น ขุนนางอังกฤษจึงไม่รังเกียจที่จะทำการค้า เช่นเดียวกับคนชั้นกลางที่พยายามยกสถานภาพทางเศรษฐกิจให้เท่าเทียมขุนนาง นอกจากนี้รัฐยังส่งเสริมให้การค้าขยายตัว เช่น มีการออกพระราชบัญญัติสร้างถนน ท่าจอดเรือ และขุดคูคลองต่างๆ เป็นจำนวนมาก เพื่อใช้เป็นเส้นทางคมนาคมทางการค้า มีการยกเลิกการเก็บภาษีผ่านด่าน และมีนโยบายการค้าแบบเสรี ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้มีการขยายตัวของตลาดการค้าภายในอย่างกว้างขวาง 
     
    ปัจจัยสำคัญที่ทำให้อังกฤษเป็นประเทศผู้นำการปฏิวัติอุตสาหกรรม เนื่องจากในระหว่างคริสต์ศตวรรษ ที่ 17-18 อังกฤษมีอาณานิคมที่อยู่โพ้นทะเลที่เป็นแหล่งวัตถุดิบและตลาดทั้งในทวีปเอเชียและอเมริกา จนในที่สุดการค้าได้กลายเป็นนโยบายหลักของประเทศ เรือรบของอังกฤษทำหน้าที่รักษาเส้นทางทางการค้าทางทะเล และให้ความคุ้มครองแก่เรือพาณิชย์ที่เดินทางไปค้าขายทั่วโลก สิ่งเหล่านี้คือปัจจัยที่ทำให้ชาวอังกฤษคิดค้นประดิษฐ์เครื่องจักรมาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง 
     การปฏิวัติอุตสาหกรรมแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ การปฏิวัติอุตสาหกรรมระยะแรกใน ระหว่าง ค.ศ 1760-1840 เป็นระยะที่มีการประดิษฐ์เครื่องจักรช่วยในการผลิตและการปรับปรุงโรงงานอุตสาหกรรมให้มีประสิทธิภาพ และการปฏิวัติอุตสาหกรรมระยะที่ 2 ระหว่าง ค.ศ. 1861- 1865 เป็นการปรับปรุงการคมนาคมสื่อสาร ซึ่งเป็นผลมาจากความสำเร็จของอุตสาหกรรมเหล็ก และเครื่องจักรไอน้ำ
     การปฏิวัติอุตสาหกรรมในระยะแรก คือ การประดิษฐ์เพื่อตอบสนอง
อุตสาหกรรมการทอผ้า โดยมีพัฒนาการดังนี้ 
ค.ศ. 1733 จอห์น เคย์ (John Kay) แห่งเมืองแลงคาเชียร์ (Lancashire) ได้ประดิษฐ์กี่กระตุก (Flying Shuttle) ซึ่งช่วยให้ช่างทอผ้าสามารถผลิตผ้าได้มากกว่าเดิมถึง 2 เท่า 
ค.ศ. 1764 เจมส์ ฮาร์กรีฟส์ (James Hargreaves) ผลิตเครื่องปั่นด้าย (Spinning Jenny) ได้สำเร็จ 
ค.ศ. 1769 ริชาร์ด อาร์กไรต์ (Richard Arkwright) ได้ปรับปรุงเครื่องปั่นด้ายให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และพัฒนาเป็นเครื่องจักรกลที่ใช้พลังน้ำหมุนแทนพลังคนเรียกว่า Water Frame ทำให้เกิดโรงงานทอผ้าตาม ริมฝั่งแม่น้ำทั่วประเทศ มีการขยายตัวทำไร่ฝ้ายในอเมริกา 
ค.ศ. 1793 วิตนีย์ (Eli Whitney) สามารถประดิษฐ์เครื่องแยกเมล็ดฝ้ายออกจากใย (Cotton Gin) ได้ การพัฒนาอุตสาหกรรมการทอผ้าของอังกฤษเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 
ค.ศ. 1769 เจมส์ วัตต์ (James Watt) ชาวสกอต ประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำ ที่พัฒนาควบคู่กับการทอผ้า โดยใช้ขับเคลื่อนเครื่องจักรกลแทนพลังงานน้ำ ซึ่งส่งผลให้นำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น เหมืองแร่และการ ทอผ้า ต่างใช้เครื่องจักรไอน้ำ เป็นพลังขับเคลื่อนเครื่องจักรกลทั้งสิ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเหล็ก เมื่อมีการพัฒนาเครื่องจักรกลไอน้ำ ทำให้อุตสาหกรรมเหล็กขยายปริมาณการผลิตได้อย่างรวดเร็ว 



     เฮนรี คอร์ต (Henry Cort) ชาวอังกฤษ คิดค้นวิธีการหลอมเหล็กให้มีคุณภาพดีขึ้น ก็ส่งผลให้มีการปรับปรุงคุณภาพของปืนใหญ่ ตลอดจนยุทโธปกรณ์ต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพขึ้น 
     ค.ศ. 1807 ชาวอังกฤษ ได้ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมจำหน่ายเครื่องจักร ณ เมืองลีจ (Liege) ประเทศเบลเยียม ทำให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมขึ้นในเบลเยียม แต่อย่างไรก็ตาม ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 อังกฤษยังครองความเป็นผู้นำในการปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยใน ค.ศ. 1851 อังกฤษได้จัดแสดงนิทรรศการครั้งใหญ่ (Great Exhibition) แสดงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเหล็กของอังกฤษ
     
     การปฏิวัติอุตสาหกรรมระยะที่ 2 เป็นการปรับปรุงการคมนาคมสื่อสาร ซึ่งเป็นผลมาจากความสำเร็จของอุตสาหกรรมเหล็กและเครื่องจักรไอน้ำ โดยใน ค.ศ. 1804 ริชาร์ด เทรวีทิก (Richard Trevitick) 
นำพลังงานไอน้ำมาขับเคลื่อนรถบรรทุกรถจักรไอน้ำจึงมีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมขนส่ง ที่มีชื่อเสียงมาก คือ หัวรถจักรไอน้ำ ชื่อ ร็อกเกต (ROCKET) ของจอร์จ สตีเฟนสัน (George Stephenson) ทำให้มีการเปิดบริการรถจักรไอน้ำบรรทุกสินค้าเป็นครั้งแรก ต่อมามีการดัดแปลงมารับส่งผู้โดยสาร ถือเป็นจุดเริ่มต้นการเข้าสู่ยุคการใช้รถไฟ ซึ่งเป็นผล ทำให้ความเจริญขยายตัวจากเขตเมืองไปสู่ชนบท เปลี่ยนชนบทให้กลายเป็นเมือง นอกจากนี้รถไฟยังเป็นพาหนะสำคัญในการลำเลียงกำลังพลและอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ และเป็นสิ่งกระตุ้นให้ยุโรปสนใจกระบวนการปฏิวัติอุตสาหกรรมในคริสต์ศตวรรษที่ 19         ฝรั่งเศสภายหลังการปฏิวัติใน ค.ศ. 1789 (French Revolution : ค.ศ. 1789) ได้หันมาสนใจปฏิวัติอุตสาหกรรมเช่นเดียวกับเยอรมนีและสหรัฐอเมริกา และก้าวขึ้นเป็นคู่แข่งกับอังกฤษ 
     ส่วนการคมนาคมทางน้ำ ใน ค.ศ. 1807 โรเบิร์ต ฟุลตัน (Robert Fulton) ชาวอเมริกัน ประสบความสำเร็จในการนำพลังไอน้่ามาใช้กับเรือเพื่อรับส่งผู้โดยสาร ต่อมา ค.ศ. 1840 แซม มวล คูนาร์ด (Semuel Cunard) เปิดเดินเรือกลไฟแล่นข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกได้ภายใน 14 วัน และมีการปรับปรุงเรือกลไฟให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นทางด้านรถยนต์มีการนำพลังไอน้ำมาใช้กับรถสามล้อ 
     ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ได้มีการประดิษฐ์เครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซิน จนถึง ค.ศ. 1857 คาร์ล เบนซ์ (Karl Benz) และ กอตต์ลีบ เดมเลอร์ (Gottlieb Daimler) สามารถนำเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซินมาใช้กับรถยนต์ทำให้อุตสาหกรรมรถยนต์เจริญก้าวหน้าขึ้นในยุคนี้ยังได้มีการประดิษฐ์เครื่องพิมพ์แบบลูกกลิ้งขึ้นใช้ ใน ค.ศ. 1812 ทำให้การพิมพ์พัฒนาได้ปริมาณมากขึ้นและเร็วทันเหตุการณ์ หนังสือพิมพ์จึงแพร่หลาย การเผยแพร่ความรู้และ ข่าวสารก็แพร่หลายในวงกว้างขึ้น 
     นอกจากนี้ยังมีการริเริ่มระบบไปรษณีย์ในอังกฤษ ใน ค.ศ. 1840 ทำให้การสื่อสารสะดวกรวดเร็วขึ้น ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 แซมมวล มอร์ส (Semuel Morse) ประดิษฐ์โทรเลขได้สำเร็จเป็นคนแรก  ค.ศ. 1837 
อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ (Alexander Graham Bell) ประดิษฐ์โทรศัพท์ได้สำเร็จ 
       
     ค.ศ. 1876 และใน ค.ศ. 1901 ก็มีการประดิษฐ์วิทยุโทรเลขได้และส่งโทรเลขข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกได้สำเร็จ ธอมัส แอลวา เอดิสัน (Thomas Alva Edison) ชาวอเมริกันประดิษฐ์หลอดไฟฟ้า เครื่องเล่นจานเสียง และ กล้องถ่ายภาพยนตร์ได้

ผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรม มีดังนี้ 
1. ประชากรทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และทางด้านการแพทย์เจริญก้าวหน้าขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งความสมบูรณ์ของอาหาร ระบบสาธารณสุขและการดูแลสุขภาพอนามัย การเพิ่มประชากรอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการอพยพจากชนบทมาหางานทำในเมืองจนเกิดปัญหาความแออัดของประชากรในเขตเมือง 
2. การก่อสร้างอาคารบ้านเรือนและสถาปัตยกรรมพัฒนาก้าวหน้ามาก
ขึ้น เพราะการพัฒนาอุตสาหกรรมและ เทคโนโลยีการก่อสร้าง ทำให้อาคารแข็งแรงขึ้น การออกแบบก่อสร้างหอไอเฟล (Eiffel Tower) ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1889 ถือเป็นสัญลักษณ์ของการเริ่มต้นการก่อสร้างที่ทันสมัยของโลก 
3. เกิดปัญหาสังคมต่างๆ มากมาย เช่น ชุมชนแออัด การแพร่กระจายของเชื้อโรค ปัญหาอาชญากรรม การใช้แรงงานเด็ก การเอารัดเอาเปรียบกัน ทำให้เกิดแนวคิดของลัทธิสังคมนิยม (Socialism) ของคาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) ที่เรียกร้องให้กรรมกรรวมพลังกันเพื่อก่อการปฏิวัติโค่นล้มระบบทุนนิยม ทำให้ลัทธิสังคมนิยม มีบทบาทและอิทธิพลมากขึ้น 
4. เกิดลัทธิเสรีนิยม (Liberalism) ซึ่งเป็นพื้นฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตยและ แนวคิดนี้แพร่หลายกว้างขวางขึ้น ทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจ ค.ศ. 1776 แอดัม สมิธ (Adam Smith) ได้พิมพ์งานเขียนชื่อ The Wealth of Nations เพื่อเสนอแนวคิดว่าความมั่งคั่งของประเทศจะเกิดจากระบบการค้าแบบเสรี (Laissez Faire) กล่าวได้ว่า การปฏิวัติอุตสาหกรรมก่อให้เกิดการแบ่งค่ายระหว่างลัทธิทุนนิยมกับลัทธิสังคมนิยมอย่างเป็นรูปธรรม ต่อมาใน ค.ศ. 1889 ได้มีการประกาศให้วันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันเมย์เดย์หรือวันแรงงานสากล (May Day) นอกจากนี้ยังทำให้เกิดวรรณกรรมแนวสัจนิยม (Realism) ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่พยายามเสนอเรื่องความเป็นจริงเบื้องหลังความสำเร็จของระบบสังคมอุตสาหกรรมที่ชนชั้นกรรมกรมีชีวิตที่ยากไร้และ ถูกเอารัดเอาเปรียบ 
5.การปฏิวัติทางอุตสาหกรรมได้ขยายไปทั่วภูมิภาคต่างๆ ของโลก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคม การเมือง และทำให้ประเทศต่างๆ เหล่านี้มี “วัฒนธรรมร่วม” ตามตะวันตกไปด้วย


สามารถทำแบบทดสอบได้จากลิ้งนี้
https://forms.gle/cQSrSFU72H81Nezt6

การฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ (Renaissance)



     การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) เกิดในช่วงเวลาระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 14-16 คือ ปลายสมัยกลางถึงต้นสมัยใหม่ ถือว่าเป็นจุดเชื่อมต่อ (Transitional Period) ของประวัติศาสตร์สองยุค     การฟื้นฟูศิลปวิทยาการเริ่มขึ้นที่นครรัฐต่างๆ บนคาบสมุทรอิตาลี ซึ่งมีความมั่งคั่งและร่ำรวยจากการค้าขาย ต่อมาจึงแพร่หลายไปสู่บริเวณอื่นๆ ในยุโรป
     คำว่า Renaissance แปลว่า เกิดใหม่ (Rebirth) หมายถึง การนำเอาศิลปวิทยาการของกรีกและโรมันมาศึกษาใหม่ ทำให้ศิลปวิทยาการกรีก-โรมันเจริญรุ่งเรืองอีกครั้งหนึ่ง เป็นสมัยที่ชาวยุโรปเกิดความกระตือรือร้นสนใจอารยธรรมกรีก-โรมัน จึงถือว่าเป็นยุคเจริญรุ่งเรืองที่ชาวยุโรปมีสิทธิและเสรีภาพ ช่วงเวลานี้จึงถือว่าเป็นขบวนการขั้นสุดท้ายที่จะปลดปล่อยยุโรปจากสังคมในยุคกลางที่เคยถูกจ่ากัดโดยกฎเกณฑ์และข้อบังคับของคริสต์ศาสนา




                             สาเหตุและความเป็นมาของการฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
                                                    1. การขยายตัวทางการค้า ทำให้พ่อค้าชาวยุโรปและบรรดาเจ้าผู้ครองนครในนครรัฐอิตาลีมีความมั่งคั่งขึ้น เช่น เมืองฟลอเรนซ์ เมืองมิลาน หันมาสนใจศิลปะและวิทยาการความเจริญในด้านต่างๆ ประกอบกับที่ตั้งของนครรัฐในอิตาลีเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิโรมันตะวันตกมาก่อน ทำให้นักปราชญ์และศิลปินต่างๆ ในอิตาลีจึงให้ความสนใจศิลปะและวิทยาการของโรมัน

2. ความเจริญทางเศรษฐกิจและการเกิดรัฐชาติในปลายยุคกลาง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน ทั้งด้านองค์กรทางการเมือง องค์กรทางเศรษฐกิจซึ่งต้องใช้ความรู้ความสามารถมาบริหารจัดการ แต่การศึกษาแบบเดิมเน้นปรัชญาทางศาสนาและสังคมในระบบฟิวดัล จึงไม่สามารถตอบสนองความต้องการของสังคมได้ ดังนั้นนักปราชญ์สาขาต่างๆ จึงหันมาศึกษาอารยธรรมกรีกและโรมัน เช่น นักกฎหมายศึกษากฎหมายโรมันโบราณเพื่อน่ามาใช้พิพากษาคดีทางการค้า นักรัฐศาสตร์ศึกษาตำราทางการเมือง เพื่อนำมาใช้ในการทูตและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมทั้งนักประวัติศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ ก็ค้นหาความจริงและสนใจศึกษาอารยธรรมกรีก-โรมันเช่นกัน

3. ทัศนคติของชาวยุโรปในช่วงปลายสมัยกลางต่อการดำเนินชีวิตเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จากการที่เคร่งครัดต่อคำสั่งสอนทางคริสต์ศาสนา มุ่งแสวงหาความสุขในโลกหน้า ใฝ่ใจที่จะหาทางพ้นจากบาป และปฏิบัติทุกอย่างเพื่อเสริมสร้างกุศลให้แก่ตนเอง ได้เปลี่ยนมาเป็นการมองโลกในแง่ดี และเบื่อหน่ายกับระเบียบสังคมที่เข้มงวดกวดขันของคริสตจักร รวมทั้งมีอคติต่อการกระทำมิชอบของพวกพระ จึงหันไปสนใจผลงานสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ของมนุษยชาติ และเห็นว่ามนุษย์สามารถพัฒนาชีวิตตนเองให้ดีและมีคุณค่าขึ้นได้ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวเป็นที่มาของแนวคิดแบบมนุษยนิยม (Humanism) ที่สนใจโลกปัจจุบันมากกว่าหนทางมุ่งหน้าไปสู่สวรรค์ดังเช่นเคย 

4. การล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์หรือจักรวรรดิโรมันตะวันออก เพราะถูกพวกมุสลิมเติร์กยึดครองใน ค.ศ. 1453 ทำให้วิทยาการแขนงต่างๆ ที่จักรวรรดิไบแซนไทน์สืบทอดไว้ หลั่งไหลคืนสู่ยุโรปตะวันตก


ความเจริญในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
สถาปัตยกรรม

     ศิลปินได้นำเอาแบบอย่างศิลปะชั้นสูงในสมัยกรีกและโรมัน มาสร้างสรรค์ได้อย่างอิสระเต็มที่ งานสถาปัตยกรรมมีการก่อสร้างแบบกรีกและโรมันเป็นจำนวนมาก ลักษณะอาคารมีประตูหน้าต่างเพิ่มมากขึ้น ประดับตกแต่งภายในด้วยภาพจิตรกรรมและประติมากรรมอย่างหรูหรา สง่างาม งานสถาปัตยกรรมที่ยิ่งใหญ่ในสมัยเรอเนซองส์ ได้แก่ มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ (St. Peter) ในกรุงโรม เป็นศูนย์กลางของคริสต์ศาสนาโรมันคาทอลิก วิหารนี้มีศิลปินผู้ออกแบบควบคุมงานก่อสร้างและลงมือตกแต่งด้วยตนเอง ต่อเนื่องกันหลายคน เช่น โดนาโต บรามันโต (Donato Bramante ค.ศ. 1440 – 1514) ราฟาเอล (Raphel ค.ศ. 1483 – 1520) ไมเคิล แองเจลโล (Michel Angelo ค.ศ. 1475 – 1564) และ โจวันนิ เบอร์นินี (Giovanni Bernini ค.ศ. 1598 – 1680)



จิตรกรรมและประติมากรรม
     งานจิตรกรรมและประติมากรรมในสมัยเรอเนซองส์ ศิลปินสร้างสรรค์ในรูปความงามตามธรรมชาติ และความงามที่เป็นศิลปะแบบคลาสสิกที่เจริญสูงสุด ซึ่งพัฒนาแบบใหม่จากศิลปะกรีกและโรมัน ความสำคัญของศิลปะสมัยเรอเนซองส์ มีความสำคัญต่อการสร้างสรรค์ศิลปะเกือบทุกสาขา โดยเฉพาะเทคนิคการเขียนภาพ การใช้องค์ประกอบทางศิลปะ (Composition) หลักกายวิภาค (Anatomy) การเขียนภาพทัศนียวิทยา (Perspective Drawing) การแสดงออกทางศิลปะมีความสำคัญในการพัฒนาชีวิต สังคม ศาสนาและวัฒนธรรม จัดองค์ประกอบภาพให้มีความงาม มีความเป็นมิติ มีความสัมพันธ์กับการมองเห็นใช้เทคนิคการเน้นแสงเงาให้เกิดดุลยภาพ มีระยะตื้นลึก ตัดกันและความกลมกลืน เน้นรายละเอียดได้อย่างสวยงาม





ศิลปินที่สำคัญในสมัยเรอเนซองส์ ได้แก่
เลโอนาร์โด ดาวินชี (Leonardo da Vinci)
ผู้เป็นอัจริยะทั้งในด้านวิทยาศาสตร์ แพทย์ กวี ดนตรี จิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม ผลงานที่มีชื่อเสียงของดาวินชี ได้แก่ ภาพอาหารมื้อสุดท้ายของพระเยซู (The last Supper) ภาพพระแม่บนก้อนหิน (The Virgin on the Rock) ภาพพระแม่กับเซนต์แอน (The Virgin and St. Anne) และภาพหญิงสาวผู้มีรอยยิ้มอันลึกลับ (mystic smile) ที่โด่งดังไปทั่วโลก คือ ภาพโมนาลิซา (Mona Lisa)



ไมเคิล แองเจลโล (Michel Angelo) เป็นศิลปินผู้มีความสามารถ และรอบรู้ในวิทยาการแทบทุกแขนง โดยเฉพาะรอบรู้ในด้านจิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม เป็นสถาปนิกผู้ร่วมออกแบบและควบคุมการก่อสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ งานประติมากรรมสลักหินอ่อนที่มีชื่อเสียงและเป็นผลงานชิ้นเอก ได้แก่ รูปโมเสส (Moses) ผู้รับบัญญัติสิบประการจากพระเจ้า รูปเดวิด (David) หนุ่มผู้มีเรือนร่างที่งดงาม รูปพิเอตตา (Pietta) แม่พระอุ้มศพพระเยซูอยู่บนตัก ภาพเขียนของไมเคิล แองเจลโล ชิ้นสำคัญที่สุด เป็นภาพบนเพดานและฝาผนังของโบสถ์ซิสติน (Sistine) ในพระราชวังวาติกัน ประเทศอิตาลีในปัจจุบัน


ราฟาเอล (Raphael) เป็นผู้หนึ่งที่ร่วมออกแบบ ควบคุมการก่อสร้าง และตกแต่งมหาวิหาร 
เซนต์ปีเตอร์ มีผลงานจิตรกรรมที่สำคัญเป็นจำนวนมากที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป ได้แก่ ภาพแม่พระอุ้มพระเยซู (Sistine Madonna) ภาพงานรื่นเริงของทวยเทพ (The Triumph of Galatea)


ศิลปะสมัยเรอเนซองส์ แพร่หลายออกไปจากประเทศอิตาลีสู่ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปตะวันตกอย่างรวดเร็ว และมีอิทธิพลต่อศิลปะในประเทศนั้น ๆ อย่างมากมาย ทำให้เกิดสกุลศิลปะและศิลปินที่สำคัญในท้องถิ่นนั้น ๆ เป็นจำนวนมาก ผลงานอันยิ่งใหญ่เหล่านี้ เรากล่าวได้ว่ามนุษยชาติเป็นหนี้บุญคุณบรรพชนแห่งสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการอยู่จนปัจจุบันนี้
   ด้านวรรณกรรม http://wl.mc.ac.th/?p=102
- เปทราก ชาวอิตาลี เป็นผู้บุกเบิกแนวคิดมนุษยนิยมจนได้รับยกย่องให้เป็นบิดาแห่งมนุษยนิยม 

มีผลงานวรรณกรรมที่เรียกว่า งานคลาสสิค ที่สะท้อนจิตวิญญาณของมนุษย์
- มาคิอาเวลลี แต่งหนังสือเรื่อง The Prince หรือเจ้าชาย ที่สะท้อนแนวคิดในการบริหารและการปกครอง

- เซอร์ ทอมัส มอร์ ชาวอังกฤษ แต่งหนังสือรัฐในอุดมคติชื่อ ยูโทเปีย เป็นสังคมอุดมคติที่ไม่มีความเหลื่อมล้ำ เป็นจิตนาการถึงสังคมนิยมทุกสิ่งเป็นของส่วนรวม มีเสรีภาพ เหล็กมีค่ากว่าทองคำเพราะมีประโยชน์มากกว่า สามารถใช้ทำสงครามและเพื่อป้องกันตนเอง
- โยฮันน์ กูเดนเบิร์ก ได้ประดิษฐ์แท่นพิมพ์และระบบการพิมพ์แบบเรียงตัวอักษร เช่น จัดพิมพ์

คัมภีร์ไบเบิลเผยแพร่
- วิลเลียม เชกสเปียร์ เขียนบทละครเรื่อง โรมีโอและจูเลียต ที่สะท้อนถึงความหลากหลายของปัจเจกชน อารมณ์และความรู้สึก ซึ่งได้รับความนิยมนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีเรื่อง เวนิส วานิส คิงเลีย แมกเบทและฝันกลางฤดูฝน
- ดังเต ( Dante Alighieri ค.ศ. 1265 - 1321) เขียน Devine Comedy เป็นภาษาลาตินเป็น
เรื่องความรักที่ไม่สมหวังและกล่าวถึงบุคคลที่ไม่เลื่อมใสในศาสนาและตกนรกเพราะบาปของตน ในประเทศอังกฤษสมัยพระราชินีอลิซาเบธที่ 1 เป็นยุคทองของวรรณคดีสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

   

นักมนุษยนิยมที่สาคัญของอังกฤษ และยุโรปเหนือ มีดังนี้
เซอร์ ทอ
มัส ( Sir Thomas ค.ศ. 1478 - 1535) มีผลงาน “ยูโทเปีย” เป็นสังคมอุดมคติที่ไม่มีความเหลื่อมล้ำ เป็นจิตนาการถึงสังคมนิยมทุกสิ่งเป็นของส่วนรวม มีเสรีภาพ เหล็กมีค่ากว่าทองคำเพราะมีประโยชน์มากกว่าสามารถใช้ทำสงครามและเพื่อป้องกันตนเอง



วิลเลี่ยม เชคสเปียร์ ( William Shakespeare ค.ศ. 1564 - 1616) แต่งวรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์ เช่น จูเลียส ซีซาร์ เรื่องโศกนาฎกรรมเช่น โรมิโอ-จูเลียต สุขนาฏกรรม เช่น เวนิสวานิช ตามใจท่าน


เซอร์ฟราซิส เบคอน (Francis Bacon ค.ศ. 1561-1626) ได้รับยกย่องว่าเป็นผู้วางรากฐานการทดลองวิทยาศาสตร์ เนื่องจากเชื่อว่าการทดลองเป็นสิ่งจำเป็น ผู้สังเกตต้องปล่อยให้ธรรมชาติเขียนบันทึกตนเอง มนุษย์เป็นเพียงผู้สังเกตอยู่วงนอกเท่านั้น


อีรัสมัส (Erasmus ค.ศ. 1466 3 1536) ได้รับสมญญาว่าเป็น “เจ้าแห่งมนุษยนิยม” เขาเรียกร้องให้ช่วยปรับปรุงสังคมโดยเฉพาะปฏิรูปศาสhttps://forms.gle/1DrDjE1wkBp4vLv49นา



     การฟื้นฟูศิลปวิทยาขยายตัวอย่างรวดเร็วเนื่องจากความเจริญของการพิมพ์ที่คิดค้นโดย โจฮันน์
กูเตนเบอร์ก ชาวเยอรมันในปี ค.ศ. 1447 โดยพิมพ์เอกสารถวายพระสันตะปาปาและพิมพ์พระคัมภีร์เล่มแรกขึ้น (ถือว่าเป็นหนังสือเล่มแรกที่พิมพ์ขึ้นโดยเครื่องประดิษฐ์นี้) การรับรู้วิทยาการต่างๆก้าวไปอย่างรวดเร็ว ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 กล่าวได้ว่าเป็นสมัยแห่งการสำรวจ ค้นพบดินแดนใหม่ ทำให้การค้าจากเมดิเตอร์เรเนียน ย้ายจากอิตาลีไปอยู่ฝรั่งเศส อังกฤษ สเปน โปตุเกส และเยอรมัน



สามารถทำแบบทดสอบได้ โดยคลิกที่ลิ้งด้านล่างนี้

https://forms.gle/1DrDjE1wkBp4vLv49

การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ (The Scientific Revolution)

การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ (The Scientific Revolution) ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15-19
     การค้นคว้าด้านวิทยาศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นช่วงที่นักประวัติศาสตร์เรียกว่าการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ คือการค้นคว้าหาความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ เป็นจุดเริ่มต้นของวิทยาศาสตร์แนวใหม่ ทำให้มนุษย์เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตอย่างมากในด้านต่างๆต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน ส่งผลต่ออารยธรรมตะวันตก ทำให้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วเข้าสู่ประเทศมหาอำนาจ


     วิธีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ทำให้ประชาชนต้องการหาคำตอบจากที่จะอธิบายเกี่ยวกับความลี้ลับทางธรรมชาติ ในสมัยนี้กษัตริย์ รัฐบาล และเจ้าผู้ครองนครสนับสนุนส่งเสริมพัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ มีห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ในมหาวิทยาลัย มีการตั้งสถาบันทางวิทยาศาสตร์แห่งชาติในอังกฤษ โรม ฝรั่งเศส
พัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ระยะแรกเป็นการหาข้อมูล ทฤษฎีใหม่เพื่อล้มกฎเกณฑ์เก่าๆ เช่น นิโคลัส โคเปอร์นิคัส (ค.ศ.1473 - 1543) ชาวโปแลนด์ ใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์ อธิบายระบบสุริยจักรวาล ทฤษฎีของโคเปอร์นิคัส ล้มล้างแนวคิดของปโตเลมีและคำสอนของศาสนจักรในสมัยกลางที่เชื่อว่าโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล กล่าวว่าเป็นการค้นพบทางด้านดาราศาสตร์ แนวคิดของโคเปอร์นิคัสจุดประกายความคิดทางวิทยาศาสตร์แก่ยุโรปตะวันตก ต่อมา กาลิเลโอ กาลิเลอี สนับสนุนแนวคิดของโคเปอร์นิคัส ประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ (Telescope) ในปี ค.ศ. 1609 ทำให้ความรู้เรื่องระบบสุริยจักรวาลชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น เห็นจุดดับในดวงอาทิตย์ สังเกตการเคลื่อนไหวของดวงดาว และเห็นพื้นขรุขระของดวงจันทร์ เป็นต้น

 โจฮันเนส เคปเลอร์ (Johannes Kepler ค.ศ. 1571 - 1630) ชาวเยอรมัน ค้นพบทฤษฎีการโคจรของดาวเคราะห์ ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 สรุปได้ว่า เส้นทางโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์เป็นรูปไข่หรือรูปวงรี
 
 ซอร์ไอแซค นิวตัน (Sir Isaac Newton ค.ศ. 1642 - 1727) ชาวอังกฤษค้นพบ กฎแรงดึงดูดของจักรวาลและกฎแห่งความโน้มถ่วง โดยใช้หลักทางคณิตศาสตร์ของเดส์การ์ตส์ ประกอบกับแนวคิดของเคปเลอร์ และกาลิเลโอ แนวคิดที่พบเป็นการเปิดโลกทรรศ์ทางวิทยาศาสตร์ให้เข้าใจเรื่องของจักรวาล พลังงาน สสาร กล่าวได้ว่าการปฏิวัติวิทยาศาสตร์น่าไปสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรม ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ท่าให้เกิด “ยุคภูมิธรรม” (The Enlightenment ) หรือยุคแห่งเหตุผล ( Age of Reason) ทำให้ชาวตะวันตกเชื่อมั่นในเหตุผล
ความสามารถ และภูมิปัญญาของตน


สามารถทำแบบทดสอบ ได้จากลิ้งนี้
https://forms.gle/wfVUaw7kwxkNixUW8